ข้อมูลทั่วไป
ชื่อวัด
วัดบัวขวัญ
สถานะ
พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ นิกาย : มหานิกาย
ที่ตั้ง
ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 9 ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี
เวลา เปิด-ปิด
8:30-17:30
ที่ดินตั้งวัด
เนื้อที่ 9 ไร่ 2 งาน 61 ตารางวา
เวลา เปิด-ปิด
8:00-17:00
ค่าเข้าชม
ไม่มีค่าใช้จ่าย
การเดินทางเข้าถึง
ทางบก
- ใช้ถนนงานวงศ์วานจากแยกแครายมุ่งหน้าแยกพงศ์เพชร เลี้ยวซ้ายเข้าซอยงามวงศ์วาน 23
ช่องทางติดต่อวัด (website, Line, Tel)
https://www.facebook.com/watbuakhwan.nonthaburi
Tel : 02-952-9737
สิ่งอำนวยความสะดวก
ห้องน้ำ ช/ญ : | ![]() |
ห้องน้ำคนพิการ : | ![]() |
ร้านอาหารและเครื่องดื่ม : | ![]() |
ตู้ ATM : | ![]() |
Internet Wifi : | ![]() |
พื้นที่จอดรถ : | ![]() |
ที่สูบบุหรี่ : | ![]() |
ทางลาดสำหรับรถเข็นคนพิการ : | ![]() |
กล้องวงจรปิด / รปภ. : | ![]() |
การนำสัตว์เลี้ยงเข้า : | อนุญาต เฉพาะพื้นที่กลางแจ้ง |
ที่เช่าวัตถุบูชา : | ![]() |
วัดบัวขวัญ





1141213151







ประวัติความเป็นมา
วัดบัวขวัญ สร้างเมื่อปีพุทธศักราช 2435 จากคำบอกเล่าว่า สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นเพียงสำนักสงฆ์กลางท้องนา เมื่อมีพระสงฆ์จำพรรษาก็เริ่มพัฒนาเป็นวัด พระครูปรีชาเฉลิม หรือหลวงปู่แฉ่ง วัดเฉลิมพระเกียรติ เป็นผู้ริเริ่มสร้างโดยมีผู้มีจิตศรัทธาหลายคนร่วมบริจาคที่ดิน ต่อมาหลวงพ่อฉ่ำมาเป็นเจ้าอาวาสและได้มรณภาพ วัดก็ว่างเว้นจากพระสงฆ์ ชาวบ้านจึงได้นิมนต์พระอธิการพยุง จิตฺตมโล จากวัดกำแพงมาเป็นเจ้าอาวาส และได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อก่อนนั้นวัดชื่อว่า วัดสระแก ต่อมานายบัว ฉุนเฉียว ได้บริจาคที่ดินให้สร้างวัดเพิ่ม จึงเรียกชื่อนามวัดว่า วัดบัวขวัญ เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้บริจาคที่ดิน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 24 มกราคม ปีพ.ศ. 2506 วัดได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เจ้าอาวาสองค์ต่อ ๆ มา ได้พัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับจนกลายมาเป็น โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดนนทบุรีแห่งที่ 1 และได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดราษฏร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรีชนิดสามัญ ในวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551
สิ่งสำคัญ
พระอุโบสถจตุรมุข เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2546 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาลด 2 ชั้น มุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบัน ซุ้มประตูและหน้าต่างประดับลายปูนปั้น บานประตูและหน้าต่างประดับลวดลายและแกะสลัก ผนังภายในมีจิตรกรรมเกี่ยวกับพระพุทธประวัติขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พื้นปูด้วยหินอ่อน มีกำแพงแก้วล้อมรอบ
พระประธาน นามว่า พระพุทธเมตตา (จำลองมาจากพระพุทธเมตตาที่ประดิษฐานในเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีพระอัครสาวกซ้ายขวา
พระวิหารหลวงพ่อโต เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาลด 2 ชั้น มุงกระเบื้อง ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันลายปูนปั้นประดับตราสัญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติ 50 ปี ซุ้มประตูและหน้าต่างลายปูนปั้น ด้านข้างปิดกระจก ทาสีทอง ร่องสีแดงทั้งหมด พื้นปูด้วยหินอ่อน ข้างบันไดปั้นรูปท้าวเวสสุวรรณทั้งสองข้าง ประดับลวดลายปิดกระจก ภายในประดิษฐานพระสังกัจจายน์ (หลวงพ่อโต) และพระพุทธรูปปางต่าง ๆ หลายองค์
ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น หลังคาลด 2 ชั้น มุงกระเบื้องเคลือบประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ขนาดกว้าง 26.80 เมตร ยาว 28 เมตร
เก๋งจีนเจ้าแม่กวนอิม เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะทรงแปดเหลี่ยม หลังคามุงกระเบื้อง เสา พื้น และบันไดปูด้วยหินอ่อน ภายในประดิษฐานรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิม
หอระฆัง เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก 2 ชั้น ลักษณะทรงจตุรมุข หลังคามุงกระเบื้อง ชั้นล่างปูกระเบื้อง ตกแต่งลวดลาย ประดับกระจก
ถ้ำพระอรหันต์เถรานาคาธิบดี มีพระอรหันต์ 8 พระองค์ รวมถึง พระอริยสงฆ์หุ่นเสมือนจริง ด้านในมีเจ้าปู่พญานาคาธิบดีศรีสุทโธ และเจ้าย่าพญานาคิณีศรีปทุมมา
พิพิธภัณฑ์เปลือกหอยเพื่อการเรียนรู้ เป็นสถานที่รวบรวมเปลือกหอยนานาชนิดจากทั่วโลก และเปิดให้ชมฟรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้จากของจริง สถานที่นี้ยังจำหน่ายเปลือกหอยและผลิตภัณฑ์จากเปลือกหอยเพื่อร่วมบำรุงเสนาสนะและร่วมสร้างศาลาการเปรียญเหมาะสมสำหรับเด็ก นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่ต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับเปลือกหอย
กิจกรรมสำคัญ
- การทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารเช้าแด่พระภิกษุ สามณร และฟังพระธรรมเทศนา ในทุกวันพระ ตั้งแต่เวลา 06.00 น. - 09.00 น. โดยประมาณ
- การทำบุญถวายสังฆทาน ทำบุญโรงศพเพื่อผู้ยากไร้ ตั้งแต่เวลา 06.00 -16.00 น. ของทุกๆ วัน ตลอดทั้งปี
- การทำบุญไถ่ชีวิตโค - กระบือ ตั้งแต่เวลา 06.00 น. - 16.00 น. ของทุกๆ วันตลอดทั้งปี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและมอบให้กับเกษตรผู้ยากไร้
- การสวดมนต์ข้ามปีและทำบุญในเทศกาลปีใหม่ มีการสวดมนต์เพื่อเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลในคืนวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี (เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา) และในวันที่1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำ บุญตักบาตร ถวายภัตตาหารเช้า แก่พระภิกษุ สามเณร และฟังพระธรรมเทศนา ตั้งแต่เวลา 06.00 น. - 09.00 น. โดยประมาณ
- การทำบุญในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาต่างๆ ได้แก่ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหนูชา มีกิจกรรมทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารเข้า แด่พระภิกษุ สามเณร และฟังพระธรรมเทศนาตั้งแต่เวลา 06.00 -09.00 น. และมีกิจกรรมเวียนเทียนรอบพระอุโบสถในช่วงเวลา 20.00 น. เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา
- การทำบุญในเทศกาลวันสำคัญต่างๆ เช่น วันสงกรานต์ วันสารทไทย วันเฉลิมพระชนมพรรษา เป็นต้น
- การทำบุญกาลทาน คือ กฐินพระราชทาน ในช่วงหลังจากวันออกพรรษาไป 1 เดือน โดยทางสำนักพระราชวังจะเป็นผู้กำหนด
บริการของวัด
- บรรพชาสามเณร/อุปสมบท
- สถานีวิทยุเพื่อพระพุทธศาสนา คลื่นธรรมะวัดบัวขวัญ FM 100.25 MHz
- งานสวดพระอภิธรรมศพ
- งานทำบุญประจำวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ข้อมูลอ้างอิง
- กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2551). พระอารามหลวง เล่ม 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
- หวน พินธุพันธุ์. (2547). ประวัติศาสตร์เมืองนนทบุรี. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
- https://travel.trueid.net/detail/lNL7V8BQgaVv
- https://www.nakornnont.go.th/travel/detail/9
- วิทยานิพนธ์ การใช้พื้นที่ทางสังคมของวัดบัวขวัญ จังหวัดนนทบุรี นางสาววาริกา นรคิม ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร 2557